ภาพบรรยากาศการอบรมหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตผักปลอดสารพิษ ยุค 4.0 ณ จ. นครราชสีมา 20 – 21 มิถุนายน 2562

ภาพบรรยาการอบรมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตผักปลอดสารพิษ ยุค 4.0’ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ จ. นครราชสีมา 20 – 21 มิถุนายน 2562ภายใต้โครงการสนับสนุน SME ปี 2562

สสว. และ มทร.ธัญบุรี จัดอบรมหลักสูตร “การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตผักปลอดสารพิษ ยุค 4.0” แก่ผู้ประกอบการ จ.นครราชสีมา ในโครงการสนับสนุน SME ปี 2562

ด้าน ผศ.ดร.วัลลภ พรหมทอง ที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้ โครงการสนับสนุน SME ปี 2562 จาก มทร.ธัญบุรี

กล่าวเปิดโครงการและเปิดเผยว่าสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ให้การสนับสนุน และมอบหมายให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตร ‘การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตผักปลอดสารพิษ ยุค 4.0’ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุน SME ปี 2562 ให้กับผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ โดยมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเป็นแนวทางหลักในการส่งเสริมและพัฒนา เพื่อยกระดับศักยภาพความสามารถของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง ก่อเกิดเป็นคลัสเตอร์หรือเครือข่ายต้นแบบ และดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างยั่งยืนในยุค 4.0 ขณะเดียวกัน ยังเน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้สนับสนุนการพัฒนาเครือข่าย (Service Provider) ผู้ประสานงานเครือข่าย (Cluster Development Agent) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงสถาบันการเงิน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งอย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุน SME ปี 2562 นับเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการในการดําเนิน ธุรกิจ เพราะมีการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเป็นแนวทางสําคัญในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ ถือว่าเป็น เรื่องจําเป็นในยุค 4.0 อีกทั้งการดําเนินงานของ มทร.ธัญบุรี ที่สร้างและพัฒนางานวิจัยนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงมากมายที่จะช่วยเติมเต็มศักยภาพ เช่น หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์ Center of Robotics and Precision Farming และความ ร่วมมือของคณะเทคโนโลยีการเกษตร และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร จึงมั่นใจได้ว่า โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 จะเกิดเป็นคลัสเตอร์ที่มีความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนากระบวนการ ผลิตที่ทันสมัย สินค้ามีคุณภาพสูง และเพิ่มช่องทางการจัดจําหน่ายที่มีอยู่เดิมให้กว้างขึ้นต่อไป

อาจารย์ประกาศิต สพฤกษ์ศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ได้บรรยายในจิตสัมพันธ์สร้างสรรค์ทีมสู่การบูรณาการพัฒนาเชื่อมโยงคลัสเตอร์ การพัฒนาทีม

ซึ่งมีรายละเอียดหัวข้อการบรรยายดังนี้

1. ความหมายของคลัสเตอร์
2. วัตถุประสงค์การเป็นคลัสเตอร์ เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร มีความมั่นคง มั่งมี มั่งคั่ง ยั่งยืน และมั่นคง

มั่งมี คือ เกษตรกร มีความสุขกับอาชีพ

มั่งคั่ง คือ เงินทองไหลมาเทมา

ยั่งยืน คือ มีการพัฒนาการเกษตรอย่างต่อเนื่องสู่ลูกสู่หลาน

มั่นคง คือ รากฐานของความแน่นอนในอาชีพ

3. พัฒนาการคลัสเตอร์ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ร่วมปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การลดต้นทุน นวัตกรรมใหม่และ เกิดธุรกิจใหม่ ธุรกิจเก่าเกิดการขยายตัว

4. นวัตกรรมการผลิต โดยบรรยายเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ใหม่ การผลิตใหม่  การบริการใหม่และ ธุรกิจใหม่

อาจารย์เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บรรยายเรื่อง “Smart Farm 

ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีการพัฒนากลุ่มผู้ให้บริการพัฒนาสายพันธุ์ ในรูปแบบ Tissue Cullture และให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรงเรือนการเกษตร (Green House) ได้รับการพัฒนามาจากความพยายามที่จะปลูกพืช หรือสัตว์ในฤดูหนาว ซึ่งการสร้างโรงเรือนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสภาพแวดดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญการเติบโตของพืชและสัตว์ วิทยาการด้านโรงเรือนเกษตรได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุ การออกแบบโครงสร้างตลอดจนเทคนิคการก่อสร้างที่ทันสมัย

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรินธร  พูลศรี อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บรรยายเรื่อง “เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว”

เพื่อเพิ่มคุณภาพของการผลิต ลดความเสียหายของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว เช่นการลดการเน่าของผลผลิต การลดความชื้นสัมพันธ์เพื่อลดการสูญเสียน้ำ กระบวนการเก็บเกี่ยว ที่จะต้องเก็บเกี่ยวให้เหมาะสมกับตลาดและความต้องการของตลาด

อาจารย์เจนณรงค์ มากเอียด อาจารย์ บรรยายเรื่อง “การพัฒนาสารชีวภัณฑ์”

โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ โปรแกรมการบริหารจัดการดูแลพืชการเกษตรบนระบบ Mobile Application  ระบบตรวจสอบคุณภาพดินเพื่อการเกษตร แบบ IOT “รู้ฟ้า รู้ดิน เกษตรยั่งยืน”

ภาพโดย:สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
จัดทำอัลบัมภาพโดย: งานพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร. ธัญบุรี

ผู้สนใจโครงการสนับสนุน SME ปี 2562 จาก สสว. และ มทร.ธัญบุรี สามารถดูข้อมูล
เพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/SMEClusterbyRMUTT หรือ www.sme-cluster.rmutt.ac.th

Comments are closed.