ภาพบรรยากาศกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร SME ปี 2561 ณ จ.สระบุรี อัลบั้ม 1

ภาพบรรยากาศกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร SME ปี 2561 ณ จ.สระบุรี อัลบั้ม 1 (15 พฤษภาคม 2561)

ภาพบรรยากาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพรภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2561 จ. สระบุรี อัลบั้ม 1 (วันที่ 15 พฤษภาคม 2561)

ภาพบรรยากาศโครงการกิจกรรมเครือข่ายสมุนไพรภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2561 โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เมื่อวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2561 ณ ศูนย์ OTOP พุแค สระบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับมอบหมายจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายสมุนไพรไทย ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME 2561 โดยมีเป้าหมายมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ในกลุ่มคัสเตอร์พืชเกษตรและพืชเกษตรเฉพาะทางโดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดเกิดความเชื่อมโยงกันของกระบวนการตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถจัดจำหน่ายได้ทั่วโลกในการพัฒนาจะเน้น การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเป็นแนวทางหลัก เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของประเทศ โดยดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุน SME ในกลุ่มธุรกิจเกี่ยวข้องกับสมุนไพรครอบคลุมตั้งแต่ ต้นน้ำ (ผู้ปลูก) กลางน้ำ (การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์) และปลายน้ำ (ผู้จำหน่าย) รวมถึงการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และการศึกษาในท้องที่

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

– เพื่อกระตุ้นความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มคลัสเตอร์เกษตรและเกษตรแปรรูปเพื่อให้เกิดความเกื้อกูลกันในการดำเนินธุรกิจ

– พัฒนาผู้ประกอบการในเครือข่ายสมุนไพร ให้มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ

– นำนวัตกรรมและเทคโนโลยี สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ธุรกิจในเครือข่าย

ในการดำเนินโครงการดังกล่าวได้มีการจัดตั้งกลุ่มเครือข่าย (Cluster) โครงการนี้มีการดำเนินงานแล้วอย่างต่อเนื่องโดยกำหนดแผนการดำเนินโครงการไว้ 5 ปี เริ่มต้นปีแรกเมื่อปี 2560 และกำหนดสิ้นสุดในปี 2565 ทั้งนี้ในปีที่ 2 (พ.ศ. 2561) วางแผนงานที่จะลงพื้นที่ให้บริการไว้จำนวน 9 จังหวัด ทั้งนี้ได้ลงพื้นที่ใน จังหวัดสระบุรีเมื่อวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2561 ณ ศูนย์ OTOP พุแค จ. สระบุรี

ซึ่งทางผู้ประกอบการด้านสมุนไพรของจังหวัดสระบุรีได้มีการรวมกลุ่มกันอย่างมีความเข้มแข็ง ในชื่อ “เครือข่ายภูมิพรรณไพรสระบุรี”

 

ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ พรมทอง

กิจกรรมช่วงแรกมีการบรรยายเกี่ยวกับ ความรู้ทั่วไปเรื่องการเกษตร “ปลูกอย่างให้มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด”  โดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภ พรหมทอง โดยการบรรยายจะให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับการปลูกสมุนไพร ให้มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด ข้อได้เปรียบในการปลูกสมุนไพร รูปแบบและห่วงโซ่การใช้สมุนไพร ส่วนต่างๆของสมุนไพรที่นำมาใช้ประโยชน์ การปลูกสมุนไพรให้ได้คุณภาพ คำแนะนำสำหรับการปลูกสมุนไพรบางชนิด วิธีการปลูกสมุนไพรตามมาตรฐาน จี.เอ.พี. (GAP) ขั้นตอนการขอรับรอง  จี.เอ.พี. (GAP) และสุดท้ายยังให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ อีกด้วย

 

จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ และ ดร.ไฉน  น้อยแสง ได้บรรยายในหัวข้อ การแปรรูปสมุนไพร กลางน้ำ “การสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสมุนไพรไทย” 

อาจาย์จอม มุกดาประกร

อาจาย์จอม มุกดาประกร ที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดคลัสเตอร์ ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ การขาย การตลาด และมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ปลายน้ำ ให้กับผู้เข้าอบรม 

ในลำดับสุดท้าย ได้มีกิจกรรมเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารคลัสเตอร์ เครือข่ายภูมิพรรณไพรสระบุรี ประจำปี 2561 ด้วย

ตัวอย่างภาพบรรยากาศ

ภาพถ่ายโดย : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
จัดทำอัลบั้มภาพโดย : งานพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี

Comments are closed.