ภาพบรรยากาศกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร SME ปี 2561 ณ จังหวัดขอนแก่น อัลบั้ม 2

ภาพบรรยากาศกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร SME ปี 2561 ณ จังหวัดขอนแก่น อัลบั้ม 2

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (สสว.) จัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพรจีน ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2561 (ปี2) ณ ห้องภูกระดึง ชั้น 7 โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล จ.ขอนแก่น วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2561

โดยมีอาจารย์ชยพล คติการ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องคลัสเตอร์รู้เรื่องคลัสเตอร์ และกรณีศึกษาการพัฒนาคลัสเตอร์สมุนไพรไทยบรรยายเกี่ยวกับ

โครงการการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ( Industrial Cluster Development)

1. ขีดความสามารถในการแข่งขัน โลกาภิวัตน์ – แนวคิดเศรษฐกิจยุคใหม่ ความสามารถในการแข่งขันของไทย

แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย

– พัฒนาและยกระดับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Upgrade the Business Environment)
– กระจายอำนาจในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค (Decentralize More of Economic Policy to the Regional Level)
– ส่งเสริมการพัฒนาคลัสเตอร์ (Activate Cluster Development)
– ปรับเปลี่ยนบทบาทของภาคธุรกิจและภาครัฐ (Redefine the Roles of Business and Government)
– ภาคเอกชนปรับปรุงกลยุทธ์ในการแข่งขัน (Transform Company Strategies)
– เป็นผู้นำในการจัดวางกลยุทธ์ในระดับนานาชาติ (Lead a Cross-National Strategy)

กระบวนทัศน์ใหม่ในการส่งเสริมอุตสาหกรรม

– การสนับสนุนและส่งเสริมวิสาหกิจเป็น “ราย”
– การสนับสนุนและส่งเสริมวิสาหกิจเป็น “กลุ่ม”

Niche Market

– ครัวของโลก (Kitchen of the World)
– กรุงเทพ เมืองแฟชั่น (Bangkok City of Fashion)
– ฐานการผลิตยานยนต์ในเอเซีย (Detroit of Asia)
– แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในเอเซีย (Asia Tourism Capital)

2. คลัสเตอร์ คืออะไร

การกระจุกตัวหรือการรวมกลุ่มของวิสาหกิจที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ ที่ใกล้เคียงกัน โดยที่วิสาหกิจในกลุ่มผลิตสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกัน เกี่ยวข้องกัน หรือส่งเสริมกัน จึงเผชิญกับปัญหา อุปสรรคและการท้าทายทางธุรกิจที่คล้ายกัน นอกจากนี้ คลัสเตอร์ยังหมายรวมถึง สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ร่วมกันในการพัฒนาคลัสเตอร์ให้ครบวงจรด้วย ”

การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย องค์ประกอบของคลัสเตอร์และกลไกการพัฒนาคลัสเตอร์ให้สำเร็จ

ปัจจัยในการคัดเลือกและส่งเสริมคลัสเตอร์

– การกระจุกตัวของวิสาหกิจ (Firm Concentration)
– จำนวนแรงงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (Employment)
– มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและมีโอกาสในการเติบโต (Economic and Growth Potential)
– การเชื่อมโยงในกลุ่ม (Business Culture and Degree of Interaction)
– มีกลุ่มผู้นำซึ่งพร้อมจะให้ความร่วมมือ (Business Leaders)
– ปัจจัยสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Quality of Infrastructure)

3. พัฒนา “คลัสเตอร์” อย่างไร

ขั้นตอนในการพัฒนาคลัสเตอร์

– สภาพตลาด ทิศทางและแนวโน้ม สภาวะการแข่งขัน
– ห่วงโซ่การผลิตและกระบวนการผลิต เทคโนโลยี
– ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิต ภาครัฐ ภาคเอกชน
– การรวมกลุ่ม ชมรม สมาคม
– แหล่งทุน สถาบันการเงิน แหล่งความรู้ สถาบันการศึกษา
– ขนาดและจำนวนวิสาหกิจ และแรงงาน
– ยืนยันผลการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างในคลัสเตอร์

ประชาสัมพันธ์ สร้างกระแส จับทิศทาง

– จัดทำฐานข้อมูลผู้เกี่ยวข้อง
– จัดประชุม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน ประชาสัมพันธ์โครงการ
– สร้างความคุ้นเคยในมวลหมู่สมาชิก ละลายพฤติกรรม
– ชี้ชวนให้ผู้มีส่วนได้เสียเห็นประโยชน์ และเห็นภาพ
– จับทิศทางการรวมกลุ่มและพัฒนา สังเกตุหาผู้นำ

บทสรุป

– การคัดเลือกคลัสเตอร์ที่จะทำการส่งเสริมและพัฒนาเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญ
– การคัดเลือกสมาชิกเข้าร่วมคลัสเตอร์ในระยะเริ่มต้นเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาคลัสเตอร์
– ผู้ประสานงานคลัสเตอร์มีบทบาทที่สำคัญมากในการกระตุ้นและประสานการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
– เริ่มจากเล็กให้เข้มแข็งแล้วค่อยขยาย
– การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ
– ทัศนคติ ความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในหมู่สมาชิกเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ
– ไม่สามารถนิยามความหมายของคลัสเตอร์อย่างจำเพาะเจาะจงได้
– การพัฒนาคลัสเตอร์ใช้ระยะเวลา การเร่งให้เกิดการรวมกลุ่มและดำเนินกิจกรรมอย่างรีบเร่ง อาจส่งผลร้ายที่รุนแรงในภายหลัง ยอมรับความจริง หากล้มเหลว
– การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
– ความยั่งยืนของคลัสเตอร์ และ Exit Strategy

หลังจากที่อาจารย์ชยพล คติการ บรรยายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาได้มีการแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการเข้าปรึกษาองค์ความรู้ด้านการวิจัย พัฒนา เทคโนโลยีสู่การสร้างนวัตกรรม และมาตรฐาน โดย ทีมอาจารย์ วิทยาลัยแพทย์แผนไทย มทร. ธัญบุรี  โดยให้ผู้ประกอบการเลือกเข้าสอบถามโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ให้ผู้ประกอบการสามารถปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นการส่วนตัว

ในช่วงบ่ายได้มีบรรยายในเรื่องจิตสัมพันธ์สร้างสรรค์ทีมสู่การบูรณาการพัฒนาเชื่อมโยงคลัสเตอร์กิจกรรมจิตสัมพันธ์ เพื่อสร้างเครือข่าย โดย อาจารย์ประกาศิต สพฤกษ์ศรี. นักจิตวิทยา วิทยากรอิสระ เรื่องการสร้างทีม

และกิจกรรมสุดท้ายในวันนี้นายชยพล  คติการ ได้บรรยายต่อในเรื่อง แผนกลยุทธ์ธุรกิจ / ยุทธศาสตร์  กำหนดโครงสร้าง และเลือกกรรมการบริหารคลัสเตอร์ ของจังหวัดขอนแก่น

ไฟลน์นำเสนอจากวิทยากรวันที่ 30 เมษายน 2561 และวันที่ 1 พฤษภาคม 2561

NameSizeHits
NameSizeHits
Present-01-สมุนไพร : ปลูกอย่างไรให้มีคุณภาพและเป็น ที่ต้องการของตลาด 5.5 MiB826
Present-02-การสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรด้วยการวิจัยและพัฒนา5.9 MiB592
Present03-โครงการการพฒันาการรวมกลุ่ม และเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ( Industrial Cluster Development)6.2 MiB1392
Present04-KeyWorldCluster951.5 KiB107
Present05-PPITT Model รูปแบบธุรกิจการบริหารจัดการเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจรโครงการบูรณาการความร่วมมือด้านการเกษตร 4.0 1.9 MiB285

ตัวอย่างภาพบรรยากาศ

ภาพถ่ายโดย : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
จัดทำอัลบั้มภาพโดย : งานพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี

Comments are closed.