‘วิจัย & นวัตกรรม’ ปลุกพลังธุรกิจไซส์เล็ก

กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 03 กันยายน พ.ศ. 2561

กรุงเทพธุรกิจ การทำงานของ ผู้ประกอบการ “ไซส์เล็ก” ถึงไซส์กลาง เมื่อเทียบกับตัวใหญ่แล้วย่อมแตกต่างกัน
รายใหญ่ แวดล้อมด้วยทรัพยากร ที่เหนือกว่า บุคลากร ทุน เครือข่าย ตลาด และอื่นๆ
ขณะที่รายเล็ก แม้ต้องเดินภายใต้ ข้อจำกัดมากมาย แต่ก็ใช่ว่าจะหมดหนทางพาตัวเองไปสู่โอกาสใหม่ๆ
กลุ่มคลัสเตอร์ไพรร้อยแก่นสารสินธุ์ จ.ขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างการทำงาน ของคนกลุ่มเล็กๆ ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ภายใต้แนวคิด We care, We share, We grow

“การทำงานที่เน้นใส่ใจดูแลกัน แชร์ ความรู้ โดยมีเครือข่ายอาจารย์มหาวิทยาลัย ดูแลกัน เพื่อการเติบโตอย่างเป็นระบบ” ภาดล แสงกุดเรือ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ไพรร้อยแก่นสารสินธุ์ จ.ขอนแก่น กล่าว
ภาดล เป็นผู้ประกอบการโดยเป็น คนที่อยู่กลางน้ำรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร มาร่วม 10 ปี กระทั่ง 2 ปีที่ผ่านมาได้มีโอกาส ร่วมอบรมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งใน โครงการที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จากนั้นจึงได้จัดตั้งคลัสเตอร์ฯ นี้ขึ้น
หลังจากศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพร อย่างจริงจัง ภาดลคิดว่าการเป็นตัวแทนขาย คงจะทำอะไรไม่ได้มาก การขยับไปทำงาน เป็นผู้ผลิตจะสามารถควบคุมด้านคุณภาพ ได้ดีกว่า

ในกระบวนการทำงานของสมาชิก ในคลัสเตอร์ซึ่งมีประมาณ 200 คน วันนี้มีการทำงานควบคุมคุณภาพตั้งแต่ ต้นน้ำ
“มีการลงไปทำงานร่วมกับเกษตรกร ตั้งแต่การปลูก ควบคุมปริมาณ ไม่อย่างนั้น จะล้นตลาด ปัจจุบัน ต้นน้ำนับว่า เข้มแข็ง มาก จากนั้นก็คนที่อยู่กลางน้ำก็เริ่มเข้ามา ร่วมคลัสเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ”
อย่างไรก็ตามในระยะ 2 ปีของการ ทำงานยังถือเป็นช่วงเริ่มออกเดินเท่านั้น
สิ่งที่จะทำให้คลัสเตอร์นี้อยู่ได้และ สร้างแวลูให้มากขึ้นกับทุกคนที่อยู่ใน ระบบ ทั้งต้นน้ำ ซึ่งเป็นเกษตรกร กลางน้ำ กลุ่มดิสทริบิวเตอร์ และปลายทาง ตลาด ที่รองรับ ซึ่งวันนี้เกษตรกรในกลุ่มสามารถ ส่งออกไปตะวันออกกลาง สหรัฐ และ สปป.ลาว
“ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้องสัมพันธ์กัน ไม่อย่างนั้นขายไม่ได้”

การทำงานของคลัสเตอร์จะมีการ เชื่อมโยงให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เริ่มที่ การสร้างทัศนคติที่ดีกับเกษตรกร จากที่ รอฟ้าฝน รอการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น การรับซื้อผลผลิตเช่นที่เคยเป็นมา ด้วยการ ลุกขึ้นมาทำสิ่งที่สร้างคุณค่าให้กับตัวเองได้ โดยเริ่มจากแปลงเล็กๆ ก่อนจะขยายใหญ่ เมื่อโอกาสมาถึง

“พัฒนาเกษตรกรต้องเริ่มที่ใจ ผมให้ คิดใหม่ ทำใหม่ อย่ารอภาครัฐ อย่ารอ งบเพาะปลูก ให้ลงมือทำได้แค่ไหนแค่นั้น ศึกษาก่อนว่าสมุนไพรแต่ละชนิด ชอบ แบบใดทำเสร็จแล้วต้องกินเอง ทำเล็กๆ แล้วค่อยขยาย
ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 10 รายที่เข้าร่วม วันนี้สมาชิกในกลุ่มเพิ่มขึ้นทุกวัน วันนี้ 200 คน แต่เราต้องคัดกรอง เพื่อให้รู้ว่า ใครคือตัวจริง”
จากการทำงานในเชิงโครงสร้างทำให้ ภาดล เข้าใจดีว่า การจะผลักดันให้เอสเอ็มอี เก่งทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ปลูก แปรรูป และขาย เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย การปลูก เป็นความเชี่ยวชาญของ เกษตรกรอยู่แล้ว ทำอย่างไรจะให้เกิดการ เชื่อมโยงเพื่อกำหนดกำลังการผลิตได้ดีขึ้นเช่น อำเภอหนึ่งจะเก่งเรื่องการปลูกพลูคาว อีกที่ปลูกสมุนไพรอีกตัว

“มองว่าเป็นเรื่องของความยั่งยืน ของสมุนไพรที่ทำได้ตั้งแต่ต้นน้ำ และ กลางน้ำ ให้เชื่อมโยงถึงกันให้ได้”
ด้านการขายและตลาด วันนี้ทางกลุ่ม มีการดึงโปรแกรมเมอร์เข้ามาเป็นที่ปรึกษา ในการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเป็น ช่องทางมาร์เก็ตเพลส นำเสนอคอนเทนท์ เกี่ยวกับสมุนไพร และการขาย
“หากพัฒนาเสร็จ มองถึงโอกาสที่จะ นำแพลตฟอร์มนี้ไปเชื่อมต่อกับตลาดอื่นๆ ขณะที่อีกส่วนก็ยังเป็นตลาดออฟไลน์ที่ต้อง ทำควบคู่ โดยมีเซ็นเตอร์ใหญ่อยู่ที่ขอนแก่น
รวมถึงการพัฒนาคนในเครือข่าย อาทิ การรวบรวมคนเก่งมาเป็นพี่เลี้ยง ให้คนไม่เก่งและการสร้างโอกาสธุรกิจ ทำอย่างไรให้เกิดการแมชชิ่ง ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ได้งานวิจัย และอาจารย์ จาก มทร.ธัญบุรีเข้ามาให้การสนับสนุน การลงพื้นที่วิเคราะห์ศึกษา ให้แนวคิด คำปรึกษา นั่นเป็นการทำงานในระยะสั้นๆ ขณะที่ ระยะไกล ภาดล มองถึงโอกาสการพัฒนา พื้นที่โครงการสมุนไพรให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และท่องเที่ยวแต่การจะทำให้เกิดขึ้นได้นั้นยังมี ข้อจำกัดอยู่มาก

“มองว่าจะทำได้ต้องมีเกษตรแปลงใหญ่ ต้นเดือนหน้าจะมีการสรุปเรื่องการทำ เกษตรแปลงใหญ่ โดยอาจรวบรวมต้นน้ำ ที่มีศักยภาพจริงๆ เข้าโครงการ เพื่อขับเคลื่อน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และต่อยอดในเชิง การท่องเที่ยวได้”
ที่กล่าวมา ภาดล บอกเป็นความตั้งใจ และเป้าหมายที่อยากจะไปให้ถึง ทั้งนี้ ไม่ลืมว่าคลัสเตอร์นี้ เป็นองค์กรเล็กๆ และตัวผมเองไม่มีประสบการณ์อะไรมาก แต่เชื่อว่ารวมกันเราอยู่ และสู้กันได้ และเติบโตอย่างมีนัย
โดยความท้าทายจากนี้นอกจากเรื่อง การปลูก และตลาดแล้ว สิ่งสำคัญคือ “มาตรฐาน” ทำอย่างไรจะทำเรื่องนี้อย่างเข้มข้น และสร้างการยอมรับให้มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
ด้าน รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า สิ่งที่มองว่าเป็นเรื่อง สำคัญต่อการพัฒนาผู้ประกอบการรายเล็ก ถึงกลางให้เข้มแข็ง ประกอบด้วย
หนึ่ง องค์ความรู้ สองการต่อยอด งานวิจัย และสาม การสร้างมาตรฐาน ให้เกิดขึ้นและสุดท้าย เรื่องของการตลาด
“จากการดำเนินการมาเป็นปีที่ 2 เริ่ม เห็นผลออกมาอย่างน่าพอใจ ผู้ประกอบการ เริ่มส่งออกได้ โดยที่ปีนี้เป็นการเร่งทำงาน เพื่อต่อยอดจากปี 2560 โดยมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็น Knowledge center and research center เชื่อมโยงเครือข่าย ระหว่างผู้ประกอบการเข้าด้วยกัน”

ทั้งนี้ กิจกรรมคลัสเตอร์สมุนไพร ในปี 2561 มทร.ธัญบุรี ดำเนินการแล้ว 9 พื้นที่ คือพื้นที่ จ.พิษณุโลก สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น จันทบุรี นครศรีธรรมราช และ พัฒนากลุ่มคลัสเตอร์ขึ้นมาใหม่ ประกอบด้วย พื้นที่ จ.น่าน ลำปางและนครพนม
โมเดลแห่งการร่วมสร้างสรรค์
กรุงเทพธุรกิจ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ สถาบัน บัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณี ของ “สามพรานโมเดล” สะท้อนให้เห็น การเชื่อมต่อระหว่างต้นน้ำ คือเครือข่าย เกษตรกรอาหารอินทรีย์ กับปลายน้ำคือ ผู้บริโภค โดยมีกลางน้ำคือผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร Travel Agent โดยสนับสนุน ในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การสั่งซื้อ วัตถุดิบจากเกษตรกรเพื่อนำมาประกอบ อาหารในโรงแรม
ยังมีเรื่องของOnline Community เช่น Mekongmoments.com โดย Mekong Tourism Coordinating Office (MTCO) ทำหน้าที่เสมือน Travel Guide ของ Greater Mekong Subregion เน้นให้นักท่องเที่ยว เป็นคนแชร์ประสบการณ์ เช่น ถ่ายรูป แล้ว #MekongMoments หรือ บอกเล่าเรื่องราว (Strories) โดย User Generated Contents
การทำในรูปแบบดังกล่าวสามารถ เชื่อมต่อไปถึงการทำ Social CRM และ Social Commerce จาก Platform ที่ทาง Community สร้างไว้
เรียกว่าเป็นการร่วมสร้างสรรค์ (Co-Creation) ที่นับว่าเป็นแนวโน้ม การทำการตลาดยุคใหม่

‘วิจัย & นวัตกรรม’ ปลุกพลังธุรกิจไซส์เล็ก

‘วิจัย & นวัตกรรม’ ปลุกพลังธุรกิจไซส์เล็ก

Comments are closed.