ยกระดับคุณภาพสับปะรดราชบุรี สู่เครือข่าย เน้นพัฒนาแบบองค์รวม

แหล่งที่มา : https://www.posttoday.com/pr/591909

สสว. ร่วมกับ มทร.ธัญบุรี จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ยกระดับคุณภาพสับปะรด จ.ราชบุรี ในโครงการสนับสนุน SME ปี 2562

ผศ.ดร.มโน สุวรรณคำ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เผยถึงกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานของคลัสเตอร์หรือเครือข่าย ว่า มทร.ธัญบุรี ได้รับมอบหมายจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุน SME ปี 2562 มุ่งเน้นให้มีการรวมกลุ่มผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ แบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงอย่างเข้มแข็ง สามารถพึ่งพากันภายในกลุ่ม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ในรูปแบบของจัดอบรมพัฒนาศักยภาพสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการในกระบวนการผลิตพืชผลทางการเกษตร เน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับการผลิต การให้บริการ การลดต้นทุน การปรับปรุงคุณภาพ รวมทั้งการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการเครือข่าย (Service Provider: SP)และผู้ประสานงานเครือข่าย (Cluster Development Agent: CDA) และเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานของภาครัฐ เอกชน รวมถึงสถาบันการเงิน ซึ่งจะเป็นช่องทางในการเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งอย่างรอบด้านของคลัสเตอร์ได้มากยิ่งขึ้น

ด้าน ผศ.ดร.วัลลภ พรหมทอง ที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุน SME ปี 2562 จาก มทร.ธัญบุรี กล่าวเสริมว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานของคลัสเตอร์ กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรฯ ครั้งนี้ เจาะกลุ่มไปที่สับปะรด จ.ราชบุรี ในหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตและการแปรรูปสับปะรด ยุค 4.0 ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์สัมมนาบ้านไร่ในฝัน อ.บ้านคา จ.ราชบุรี เนื้อหาทั้งหมดจะเน้นเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องคลัสเตอร์ กรณีศึกษาการพัฒนาคลัสเตอร์ต้นแบบ บทบาทหน้าที่ผู้ประสานงาน (CDA) กิจกรรมจิตสัมพันธ์สร้างสรรค์ทีมสู่การบูรณาการพัฒนาเชื่อมโยงคลัสเตอร์ และเนื้อหาสำคัญด้านแนวทางการลดปริมาณขยะจากสับปะรดและการเพิ่มมูลค่า การใช้ Technical Textile ต่อคุณภาพของสับปะรด รวมถึงการทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาคลัสเตอร์ในปี 2562

ผศ.ดร.วัลลภ กล่าวอีกด้วยว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับในครั้งนี้ คือการพัฒนาในรูปแบบคลัสเตอร์ ‘สับปะรด’ ที่มีการร่วมกันปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากทีมคณาจารย์ มทร.ธัญบุรี ภายใต้งานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต ก่อให้เกิดการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ การขยายตัวของธุรกิจ ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาที่เหมาะสม และผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

Comments are closed.