สรุปผลการลงพื้นที่ การพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการให้การสนับสนุนเครือข่าย กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร และเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 วันที่ 21 มีนาคม 2562 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพข่าว: สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล
15/03/2019
สรุปผลการลงพื้นที่ การพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการให้การสนับสนุนเครือข่าย กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร และเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 วันที่ 22 มีนาคม 2562 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
29/03/2019

สรุปผลการลงพื้นที่ การพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการให้การสนับสนุนเครือข่าย กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร และเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 วันที่ 21 มีนาคม 2562 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สรุปผลการลงพื้นที่ การพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการให้การสนับสนุนเครือข่าย กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร และเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 วันที่ 21 มีนาคม 2562 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จากการลงพื้นที่เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562
โดยมีผู้เข้าร่วมจาก

ทีมอาจารย์มหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประกอบไปด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มโน สุวรรณคำ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รุ้งสวรรค์ วรรณสุทธิ์
ทีมที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบไปด้วย
1. นายจอม มุกดาประการ
2. นายชยพล คติการ
3. นายสถาพร หล่อกัณภัย
4. นายฐสิฐญ์ ศรีปรางค์
5. นายเจนณรงค์ มากเอียด
6. นายธีรพงษ์ กาญจนกันติกุล
ทีมประสานงานโครงการ ประกอบไปด้วย
1. นางสาวชวัญรัตน์ เป่ารัมย์
2. นางสาวสุพัชณันท์ เปลี่ยนขำ
3. นางสาวพัชรี ญานสาร
4. นางสาวจารุพร นอบน้อม
5. นางสาววชิราภรณ์ เอี่ยมวิไล

ซึ่งสามารถสรุป ผลได้ดังนี้
โรงงานพรีมากรีน รับซื้อผัก ผลไม้ ปลอดสารจนถึงอินทรีย์
เมื่อเวลา เวลา 08:00 – 09:00 น. คณะทีมงานได้เข้าสำรวจโรงงานพรีมากรีน
โรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี อยู่ใกล้กับเกษตรจังหวัด มีพื้นที่ 10 ไร่ ซึ่งอยู่ในระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2562 โดยมีคุณทิสา จันบุญมี ผู้ประกอบการให้การตอบรับและให้ข้อมูล มีวัตถุประสงค์ในการสร้างโรงงานเพื่อเป็นตลาดกลางในการรับซื้อ-ขายผลผลิตทางการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านการตลาด จัดหา จำหน่าย และการเก็บรักษาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ราคาเป็นธรรม มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพเกษตรกรรม โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลาดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการตลาดส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรส่งผลิตผลทางการเกษตรมาจำหน่ายโดยตรง โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
โดยโรงงานจะรับสินค้าประเภทผัก 2 ประเภท คือ ผัก Organic และ ผัก Hygienicและมีสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า และน้ำประปา โครงสร้างของโรงงานถูกออกแบบโครงสร้างตามประสบการณ์จากการทำงานของผู้ประกอบการ ถูกแบ่งสัดส่วนพื้นที่ออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งที่รับสินค้า Organic และ Hygienic ภายในโรงงานประกอบด้วย ห้องชะล้างสิ่งสกปรกของสินค้า ห้อง Treatment เพื่อพักสินค้าที่มาในช่วงเวลากลางคืน ห้องแช่เย็น (freeze) ห้อง QC เพื่อตรวจสอบมาตรฐานของสินค้า ห้อง Packing สินค้า ซึ่งสินค้าจะไหลไปตามสายพาน
ห้อง Ready to eat ห้องสำนักงาน ลานจอดรถบรรทุก

ข้อเสนอแนะในการให้คำปรึกษาจากการสำรวจมีดังนี้

1. เรื่องการจัดการเวลาในการ Packing เพื่อผลิตได้เร็วและมีคุณภาพ
2. การส่งเสริมโรงงงานให้สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ และมีห้องทดลองไว้สำหรับผู้ที่สนใจ

 

สหกรณ์การเกษตรเขาใหญ่ จำกัด ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
เมื่อเวลา 10:00 – 12:00 น. ทางคณะทำงานเข้าร่วมประชุมหารือกับสหกรณ์การเกษตรเขาใหญ่
ซึ่งประกอบไปด้วย
1. คุณชนุดม ศิริบุรม ประธานสกก.
2. คุณอัศฎางค์ ภมะราภา ผู้จัดการสกก.
3. คุณสรรพสิทธิ์ อินทรสมใจ สมาชิกสกก.
4. คุณสามารถ นิลจันทึก สมาชิกสกก.
และคณะกรรมสหกรณ์ ให้การต้อนรับ และให้ข้อมูล
ทางสหกรณ์มีสมาชิก จำนวน 167 คน และมีนายชนุดม ศิริบุรม เป็นประธานคณะกรรมการ และอาชีพหลักของสมาชิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ภาคการเกษตร จำนวน 144 ราย ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด ทำสวนน้อยหน่า และปลูกผัก เนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่
2. ภาคปศุสัตว์ จำนวน 23 ราย เลี้ยงโคนม ซึ่งมีโคประมาณ 300 ตัว ซึ่งปัจจุบันมีกำลังการผลิตน้ำนมดิบประมาณ 2.7 ตัน / วัน และสหกรณ์มีศูนย์รับน้ำนมไว้บริการให้กับสมาชิกการประชุมหารือครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกดำเนินธุรกิจร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือส่วนรวม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและส่วนรวมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ โดยทางสหกรณ์และสมาชิกมีความสนใจที่จะปลูกพืชที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจ แต่เป็นพืชที่ทำให้เกิดมูลค่า เช่น กัญชา เนื่องจากสารสกัดจากกัญชาสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตยารักษาโรคได้ การเตรียมความพร้อมของสมาชิก คือ มีพื้นที่ที่พร้อมทดลองปลูกอยู่ 500 ไร่
หากตลาดมีความต้องการกัญชาเป็นจำนวนมาก สมาชิกก็สามารถขยายพื้นที่การปลูกไปยังกองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก โดยผ่านกระบวนการแจ้งขอใช้พื้นที่ได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ของราชการก็จะยิ่งสะดวกต่อการควบคุมดูแล แต่ปัญหาของสหกรณ์ คือ ความสามารถในการคืนเงินยืมของเกษตรกร ทำให้สหกรณ์ไม่มีทุนสำหรับหมุนเวียนในการพัฒนาต่อยอดได้

ข้อเสนอแนะในการให้ปรึกษาจากการสำรวจมีดังนี้

1. สหกรณ์ต้องการให้มหาวิทยาลัยกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สหกรณ์สามารถปลูกกัญชาได้
2. ระหว่างที่ศึกษาเรื่องกฎหมายในการปลูกกัญชา ต้องการให้มหาวิทยาลัยหาแนวทางการเตรียมความพร้อม เพื่อการทำงานเป็น Cluster

กลุ่มการเกษตรอินทรีย์ไร่จันทร์งาม อำเภอปากช่อง
เมื่อเวลา 13:00 -14:00 น. คณะทีมงานเข้าสำรวจพื้นที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์ไร่จันทร์งาม โดยมีคุณทิสา จันบุญมี ผู้ประกอบการให้การต้อนรับ และให้ข้อมูล กลุ่มเกษตรอินทรีย์ไร่จันทร์งาม มีกลุ่มเครือข่ายในการทำกสิกรรมไร้สารพิษ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1. ไร่ต้นสุข ตำบลหนองสาร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
2. ไร่สวนสุข ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนคราราชสีมา
3. เครือข่ายผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์อำเภอสีคิ้ว จำนวน 6 ราย
4. เครือจ่ายผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์อำเภอวังน้ำเขียว จำนวน 4 ราย
และมีองค์กรความร่วมมือในพื้นที่ที่ให้การสนับสนุนกลุ่มการเกษตรอินทรีย์ไร่จันทร์งาม อำเภอปากช่อง จำนวน 7 แห่ง ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว สำนักงานเกษตรอำเภอสีคิ้ว สำนักงานเกษตรอำเภอปากช่อง สำนักงานเกษตรอำเภอสูงเนิน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา กรมวิชาการเกษตร โรงเรียนคลองไผ่วิทยา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
โดยมีแนวทางการสนับสนุนเกษตรอินทรีย์เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และมีกระบวนการปลูกผักอินทรีย์โดยใช้มาตรฐานวัดมาจากประสบการณ์ของเกษตรกร มาพัฒนาเช่น ระบบการดูแลกล้าผักอินทรีย์ในโรงเรือน (การเพาะกล้าผัก) ระบบพรางแสงในโรงเรือนแบบอัตโนมัติ ระบบการพ่นหมอก ลดอุณหภูมิในโรงเรือนแบบอัตโนมัติ ระบบการให้น้ำ ธาตุอาหาร สารอาหาร อินทรีย์ในโรงรือนแบบอัตโนมัติ เครื่องหยอดเมล็ดในถาดหลุม เครื่องมือ/อุปกรณ์ตรวจสอบธาตุอาหารในวัสดุดินเพาะกล้า ระบบการเตรียมแปลงปลูกผักอินทรีย์ สร้างเครื่องทุนแรงในการเตรียมดินและใส่ปุ๋ย (ปั่น ยกร่อง ใส่ปุ๋ยในแปลงผัก) พร้อมปลูก ทำสารชีวภัณฑ์ที่ควบคุมการงอก/การแต่งกิ่งของวัชพืช (ควบคุม) ไว้ใช้ ระบบการให้น้ำ ปุ๋ย สารชีวภัณฑ์แบบอัตโนมัติ (ระบบการให้น้ำ สารบำรุง สารป้องกันและกำจัดโรคและแมลง ผ่านระบบน้ำและการฉีดพ่น) ระบบน้ำตามแบบที่เหมาะสมกับวิธีการปลูกในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ระบบน้ำพ่นหมอก ระบบน้ำหยด ระบบน้ำมินิสปริงเกอร์ เครื่องมือ และอุปกรณ์สำหรับการตรวจวัดสภาพอากาศ ความชื้น และธาตุอาหารในดิน อีกทั้งยังมีการผลิตสารชีวภัณฑ์ และอื่น ๆ สำหรับใช้เอง
โดยอาคารโรงเรือนสำหรับการผลิตสารบำรุง ป้องกัน และควบคุมโรค จะแบ่งพื้นที่อย่างชัดเจน ดังนี้
1. ห้องผลิตและควบคุมสารชีวภัณฑ์
2. ห้องผลิตสารบำรุงและจุลินทรีย์
3. ห้องผลิตสารออกฤทธิ์ป้องกันแมลง เช่น ห้องผลิตไส้เดือนฝอย
4. โรงเลี้ยงไส้เดือนเพื่อกำจัดเศษพืชผักอินทรีย์
มีการสร้างอุปกรณ์การผลิต ขยายหัวเชื้อ ของสารป้องกัน กำจัดโรคและแมลง สารบำรุง สารควบคุมการงอกของเมล็ด วัชพืช อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพความพร้อมของสารชีวภัณฑ์ ส่วนเครื่องมือและเทคโนโลยีในการผลิตพืชผักอินทรีย์ที่มีนั้นได้แก่
1. เครื่องมือตรวจวัดค่า pH และความชื้น พร้อมธาตุที่จำเป็นสำหรับพืช
2. โรงเรือน Smart Farm 4 โรงเรือน พร้อมระบบน้ำ ระบบให้สาร ฯลฯ แบบอัตโนมัติ ระบบควบคุมและพรางแสงอัตโนมัติ
3. เครื่องมือในการตรวจวัดสภาพความพร้อมของพื้นที่
4. ระบบการให้น้ำแบบอัตโนมัติ ควบคุมเวลาและความชื้นในแต่ละพื้นที่การผลิต
5. ระบบเครื่องมือสำหรับการพรวนดิน ยกร่อง ใส่ปุ๋ยแบบอัตโนมัติ
6. การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อกำจัดเศษพืชผักอินทรีย์ในพื้นที่ แบบโรงเรือนไส้เดือน พร้อมไส้เดือน และอุปกรณ์ที่จำเป็น
อีกทั้งยังมี ระบบการผลิตผักไฮโดรออร์แกนิค โดยใช้การผลิตแบบรางฟิล์ม และระบบน้ำลึก มีการผลิตสารอาหารที่ใช้ในการผลิตผักระบบไฮโดรออร์แกนิคอย่างแท้จริง มีอุปกรณ์ในการตรวจวัดค่าต่างๆ ที่จำเป็นในน้ำ วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะกล้าสำหรับระบบไฮโดรออร์แกนิค รวมถึงระบบการให้น้ำแบบควบคุมอุณหภูมิน้ำและสารละลายธาตุอาหาร มีเครื่องวัดความแรงลม อุณหภูมิ ในอากาศ และควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติ รูปแบบอาคารโรงเรือนเป็นทั้งแบบเปิด/ปิด เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับการผลิต

ข้อเสนอแนะในการให้คำปรึกษาจากการสำรวจมีดังนี้

1. เกษตรกรไม่รู้มาตรฐานในการวัดสภาพดิน เพื่อปรับให้เหมาะสมกับพืชที่ต้องการปลูก
2. กระบวนการเตรียมแปลงโดยชีวภัณฑ์ที่ทำใช้เอง ไม่สามารถบ่งบอกว่าได้มาตรฐานจริง อ.สถาพร แนะนำให้ปลูกผักไฮโดรโปรนิคแบบใช้ดิน และใช้จุลทรีย์ในการบำรุงดินแทนสารเคมี เพื่อไม่ทำให้ดินเสื่อมสภาพ
3. ระบบน้ำเช่น สปริงเกอร์ น้ำหยด เกษตรกรไม่รู้มาตรฐานความคงที่ที่จะส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐาน
4. การปรับปรุงพัฒนาให้เป็น Precision Farm หรือ Smart Farm เพื่อจะตั้งค่าความคงที่ในการเพาะให้เหมาะสมกับผลผลิตแต่ละชนิด
5. ความยินยอมในการเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้
6. เมื่อมีคู่ค้าต้องการทำสัญญา แนะว่าให้ทำเป็นโครงการเพราะมีข้อดีคือเลือกช่องทางการผลิตภายใต้โครงการนั้นๆ ได้
7. แนวทางทฤษฎีของการพัฒนาเทคโนโลยีและการจัดการระบบกระบวนการผลิต คือ เทคโนโลยีในตอนนี้เป็นอย่างไร เราสมารถที่จะตอบสนองกับเทคโนโลยีได้อย่างไร หาวิธีพัฒนาให้เทคโนโลยีสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง(AI) หาวิธีเชื่อมโยงตลาด รู้ความต้องการ(demand)ของตลาด การติดต่อกับsupplier หาแนวทางนำข้อมูลทุกอย่างอยู่บนคลาวด์(cloud)เพื่อหาวิธีควบคุมการผลิตในระยะไกลได้

Comments are closed.