กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร และเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับมอบหมายจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรมพัฒนาเครือข่าย 2 เครือข่าย คือเครือข่ายสมุนไพร ที่มีการดำเนินงานมาเป็นปีที่ 3 ต่อจากเมื่อปี 2560, ปี 2561 และเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรซึ่งมีการดำเนินงานเป็นปีที่ 1 ในปี 2562 นั้น ได้ดำเนินกิจกรรมสำเร็จลุล่วงสำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายทั้งสิ้น 730 ราย แบ่งเป็นเครือข่ายสมุนไพร 151 ราย และเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร 579 ราย มีการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย 8 เครือข่ายโดยแบ่งเป็นเครือข่ายสมุนไพร 3 เครือข่าย ประกอบไปด้วย เครือข่ายชีววิถีน้ำเกี๋ยน เครือข่ายภูมิพรรณไพร และเครือข่ายนักษัตรนครไพร ในส่วนของเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร 5 เครือข่าย ประกอบไปด้วยเครือข่ายเมล่อนสุพรรณบุรี (เทคโนโลยีการเกษตร) เครือข่ายสับปะรดบ้านคา (เทคโนโลยีการเกษตร) เครือข่ายเทคโนโลยีเกษตรอินทรีย์โคราช เครือข่ายเทคโนโลยีข้าวศรีสะเกษ และเครือข่ายตามรอยพ่อหลวงชัยนาท (เทคโนโลยีการเกษตร)
เครือข่ายสมุนไพร ในการดำเนินงานปี 2562 ได้ดำเนินการคัดเลือกเครือข่ายเพื่อพัฒนาต่อเนื่องจำนวน 3 เครือข่าย ซึ่งเป็นการต่อยอดให้มีความต่อเนื่องมากที่สุด โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 151 ราย ผู้นำเครือข่ายและผู้ประสานงาน (Service Provider และ CDA) จำนวน 9 ราย จุดเด่นของการพัฒนาเครือข่ายแต่ละเครือข่าย คือ
นอกจากนี้ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของเครือข่ายสมุนไพร เป็นจำนวน 27.38 ล้านบาท
เครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ในการดำเนินงานปี 2562 ได้พัฒนาเครือข่าย จำนวน 5 เครือข่าย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 579 ราย ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มต้นน้ำ ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ผลิต/ผู้ขาย อุปกรณ์ เครื่องจักร ทางการเกษตร, กลุ่มกลางน้ำ ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ให้บริการด้านการเกษตร และกลุ่มปลายน้ำ ซึ่งเป็นตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้เทคโนโลยี,กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, กลุ่มแปลงใหญ่ และกลุ่มสหกรณ์ ผู้นำเครือข่ายและผู้ประสานงาน (Service Provider และ CDA) จำนวน 15 ราย จุดเด่นของการพัฒนาเครือข่ายแต่ละเครือข่าย คือ
และจากการพัฒนา นวัตกรรมทำให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร เป็นจำนวน 39.38 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพรและเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 ของทางมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี ได้สรุปผลผลิต ผลลัพธ์ มีผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆ จากเป้าหมาย 700 ราย ทำได้ 730 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มต้นน้ำ 60 ราย กลุ่มกลางน้ำ 526 ราย กลุ่มปลายน้ำ 91 ราย และมีผู้ที่เป็นทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ 53 ราย มีผู้นำเครือข่าย และผู้ประสานงานเครือข่าย (Service Provider และ CDA) 24 ราย ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ จากเครือข่าย SME ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจในด้านต่างจำนวน 8 เครือข่าย และยังมีแผนพัฒนาเครือข่าย จำนวน 8 แผนยุทธศาสตร์ และยังมีการนำนวัตกรรม งานวิจัย กลยุทธ์หรือแนวทางการดำเนินงาน ที่ได้รับจาการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ จำนวน 13 ราย ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME ในเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ 13.92 ล้านบาท และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 52.54 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมแล้วมีการขยายตัวทางเศรษกิจถึง 66.46 ล้านบาท
ในส่วนของการสร้างโอกาสตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ทางเครือข่ายสมุนไพรได้มีการผลักดันส่งเสริมให้มีการออกบูทขายของในงานงาน Fruits Festival ที่ JJ Mall และการทำ Road show และBusiness Matching ต่างประเทศไปยังประเทศจีน เนื่องจากเป็นประเทศที่มีศักยภาพทั้งในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมีประชากรมากที่สุดในโลก และชาวจีนยังนิยมสมุนไพรจากประเทศไทย และทางเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรมีการทำ Business Matching ทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศได้จัดขึ้นที่ ห้องประชุม ตึก I Work มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในส่วนของต่างประเทศได้จัดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา เนื่องจากเป็นประเทศที่ยังมีความต้องการด้านเทคโนโลยีอยู่มาก และเริ่มใช้เครื่องจักร เทคโนโลยี มากขึ้นในภาคการเกษตร จึงเป็นโอกาสที่เราสามารถที่จะนำเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นไปนำเสนอการขายการลงทุนได้
ข้อเสนอแนะทางนโยบายของเครือข่ายสมุนไพร มี 5 นโยบาย ดังนี้
นโยบายที่ 1 : การสนับสนุนและการส่งเสริมจากรัฐบาล
นโยบายที่ 2 : การพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี
นโยบายที่ 3 : การส่งเสริมด้านการตลาด
นโยบายที่ 4 : การสร้างความสัมพันธ์ในเครือข่าย
และในส่วนของ เครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร มีข้อเสนอแนะทางนโยบาย 5 นโยบาย ดังนี้
นโยบายที่ 1 : การแก้ปัญหาขาดแคลนพันธุ์ดี และเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ
นโยบายที่ 2 : การพัฒนาความรู้ความสามารถของทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพ
นโยบายที่ 3 : การพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี
นโยบายที่ 4 : การส่งเสริมด้านการตลาด
นโยบายที่ 5 : การสร้างความสัมพันธ์ในเครือข่าย
จากผลการดำเนินงานข้างต้น การพัฒนาเครือข่าย/คลัสเตอร์ ในปี 2562 นี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจ และการพัฒนาอย่างเข้มข้นบนหลักการการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ ทางคณะทำงานมีความมุ่งมั่น เพื่อให้ผลสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ทุกประการ และคาดหวังว่าคณะกรรมการตรวจรับงานจะเห็นชอบในผลสำเร็จของงาน นอกจากนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความกรุณาสนับสนุนให้ดำเนินงานโครงการฯ ในระยะต่อไป
คณะทำงาน
กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร
ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี